ยินดีต้อนรับสู่โรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ฟังก์ชันตรีโกณมิติ

 
ตรีโกณมิติ (Trigonometry) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Circular Function คือ ฟังก์ชันของมุม 
ซึ่งมีความสำคัญในการศึกษารูปสามเหลี่ยมและ
ปรากฏการณ์ในลักษณะเป็นคาบ ฟังก์ชันอาจนิยามด้วยอัตราส่วนของด้าน 2 ด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
 หรืออัตราส่วนของพิกัดของจุด
บนวงกลมหนึ่งหน่วย หรือนิยามในรูปทั่วไปเช่น อนุกรมอนันต์ หรือสมการเชิงอนุพันธ์ 
รูปสามเหลี่ยมที่นำมาใช้จะอยู่ในระนาบแบบยุคลิด

  ลิงค์ดาวโหลดเอกสารฟรีได้ที่ ติวเตอร์ดีดี Library คลิก!

ดังนั้น ผลรวมของมุมทุกมุมจึงเท่ากับ 180° เสมอ
Photobucket
 
 ฟังก์ชันตรีโกณมิติพื้นฐานทั้งหมด
 

ในปัจจุบัน มีฟังก์ชันตรีโกณมิติอยู่ 6 ฟังก์ชันที่นิยมใช้กัน ดังนี้
ฟังก์ชันตัวย่อ
ไซน์ (Sine)sin
โคไซน์ (Cosine)cos
แทนเจนต์ (Tangent)tan (หรือ tg)
โคแทนเจนต์ (Cotangent)cot (หรือ ctg หรือ ctn)
ซีแคนต์ (Secant)sec
โคซีแคนต์ (Cosecant)csc (หรือ cosec)

การใช้นิ้วมือช่วยในการจำค่าตรีโกณมิติของมุมพื้นฐาน

การจำค่าตรีโกณมิติพื้นฐานโดยใช้นิ้วมือ ต้องใช้มือซ้าย




















วิธีการนี้ใช้จำค่าตรีโกณมิติของมุมพื้นฐานกล่าวคือ 0^\circ,30^\circ,45^\circ,60^\circ,90^\circ 
มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
แบมือซ้ายออกมา มองเลขมุมจับคู่กับนิ้วเรียงจากซ้ายไปขวา
 เป็นมุม 0^\circ,30^\circ,45^\circ,60^\circ,90^\circ องศา
เมื่อต้องการหาค่าตรีโกณมิติของมุมใดให้งอนิ้วนั้น สมมติว่าหา cos 30^\circ
 ก็จะตรงกับนิ้วชี้ ก็งอนิ้วชี้เก็บไว้
ถือกฎว่า "sin-ซ้าย(ออกเสียงคล้ายกัน) cos-ขวา(ออกเสียง /k/ เหมือนกัน)"
 เมื่อหาค่าของฟังก์ชันใดให้สนใจจำนวนนิ้วมือฝั่งที่สอดคล้องกับฟังก์ชันนั้น
เพื่อจะหาค่า นำจำนวนนิ้วมือด้านที่สนใจติดรากที่สองแล้วหารด้วยสอ
ง (หรืออาจจำว่ามีเลขสองตัวใหญ่ๆอยู่บนฝ่ามือ เมื่ออ่านก็จะเป็น
 รากที่สองของจำนวนนิ้วมือด้านที่สนใจ หารฝ่ามือ)
สำหรับ cos 30 ก็จะได้ว่ามีนิ้วมือเหลืออยู่ทางด้านขวาอีกสามนิ้ว (กลาง นาง ก้อย)
 ก็จะได้ cos30=\frac{\sqrt{3}}{2}สำหรับฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นก็ใช้สมบัติของฟังก์ชันนั้นกับ 
sin และ cos เช่น tan=sin/cos
การกำหนดค่าของฟังก์ชันตรีโกณมิตินั้น สามารถทำได้โดยการใช้วงกลมรัศมี 1 หน่ว
ย มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด 
และเราจะเรียกวงกลมดังกล่าวว่า วงกลมหนึ่งหน่วย (The unit circle) 
  1. เมื่อเรากำหนดจำนวนจริง θ (ทีตา) จาก (1,0) วัดระยะไปตามส่วนโค้งของวงกลม โดยมีข้อตกลงดังนี้ว่า :
    ถ้า θ > 0 จะวัดส่วนโค้งจากจุด (1,0) ไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
    ถ้า θ < 0 จะวัดส่วนโค้งจากจุด (1,0) ไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
    ถ้า θ = 0 จุดปลายส่วนโค้งคือจุด (1,0)
    จะได้ว่า เมื่อเรากำหนดจำนวนจริง θ ให้ เราสามรารถหาจุด (x,y) ซึ่งเป็นจุดปลายส่วนโค้งได้เพียงจุดเดียวเท่านั้น
    ถ้า |θ| > 2π แสดงว่า วัดส่วนโค้งเกิน 1 รอบ เพราะเส้นรองวงของวงกลมยาว 2π หน่วย



    Photobucket


     
     
    เมื่อ (x,y) เป็นจุดปลายส่วนโค้งของวงกลมข้างต้น
     
    y = sinθ (อ่านว่า วาย เท่ากับ ไซน์ทีตา)

    x = cosθ (อ่านว่า เอกซ์ เท่ากับ คอสทีตา)
     
    ฟังก์ชันไซน์และฟังก์ชันโคไซน์นั้น เป็นจำนวนจริง ตั้งแต่ -1 ถึง 1
    นั่นคือ เรนจ์ของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ คือ เซตของจำนวนจริง ตั้งแต่ -1 ถึง 1

    และโดเมนของฟังก์ชันทั้งสองคือเซตของจำนวนจริง

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ เป็นดังตารางนี้ 

Photobucket 
จากตาราง ทำให้เราสามารถสรุปได้ว่า 
sin(-θ) = -sinθ
cos(-θ) = cosθ
มุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม ซึ่งรองรับด้วยส่วนของเส้นโค้งที่ยาว 2πr หน่วยจะมีขนาด 2π เรเดียน 
และมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม ซึ่งรองรับด้วยส่วนโค้งครึ่งวงกลมที่ยาว πr หน่วยจะมีขนาด π เรเดียน 
จะเห็นได้ว่า สำหรับมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลมที่มีรัศมี r หน่วย ซึ่งรองรับด้วยส่วนโค้งของวงกลมมรายาว a หน่วย จะได้ 
  
θ = a/r
  
360 องศา เท่ากับ 2π เรเดียน
180 องศา เท่ากับ π เรเดียน
 
sin = ด้านตรงข้าม / ด้านตรงข้ามมุมฉาก
cos = ด้านประชิด / ด้านตรงข้ามมุมฉาก
tan = ด้านตรงข้าม / ด้านประชิด
 
 
⑤ การใช้ตารางค่าฟังก์ชันตรีโกณมิติ
 
Photobucket
ทำการหาค่ามุมที่ต้องการทางด้านซ้ายมือของตาราง แล้ว นำมาเทียบกับค่าฟังก์ชันตรีโกณมิติทางด้านขวามือของตาราง เป็นอันเสร็จสิ้น 

กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
 
Photobucket
 
ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ทุกฟังก์ชัน เป็นฟังก์ชันที่เป็นคาบ (Periodic Function)
กล่าวคือ สามารถแบ่งแกน x ออกเป็นช่วงย่อย (Subinterval) โดยที่ความยาวแต่ละช่วงย่อยเท่ากัน
และกราฟในแต่ละช่วงย่อยมีลักษณะเหมือนกัน ความยาวของช่วงย่อยที่สั้นที่สุดมีสมบัติดังกล่าวเรียกว่า คาบ (Period)
จากรูปข้างต้น จะเห็นได้ว่า
- คาบของกราฟ y = sinx และ y = cosx เท่ากับ 2π
- คาบของกราฟ y = cosecx และ y = secx เท่ากับ 2π
- คาบของกราฟ y = tanx และ y = cotx เท่ากับ π
 
สำหรับฟังก์ชันที่เป็นคาบซึ่งมีค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด
เราจะเรียกว่าที่เท่ากับครึ่งหนึ่งของค่าสูงสุดลบด้วยค่าต่ำสุดของฟังก์ชันนี้ว่า แอมพลิจูด (Amplitude)
- ฟังก์ชัน y = sinx และ y = cosx มีแอมพลิจูดเป็น 1 เท่ากัน
 ชมคลิป

           ฟังก์ชันตรีโกณมิติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น